- หน้าแรก
- วิจัยและนวัตกรรม
- กลุ่ม NI
วิจัยและนวัตกรรม

ห้องปฏิบัติการ
กลุ่ม NI
กลุ่มระบบเครือข่าย (Networking and Internet Group) ประกอบด้วย 4 ห้องปฏิบัติการวิจัย

Intelligent Systems and Networks Research Laboratory
ISN Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทาง Intelligent Systems and Networks (ISN) เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบและเครือข่ายในด้านต่าง ๆ เช่นการจัดสรรทรัพยากรในเครือข่าย Software Defined Networking (SDN) ขนาดใหญ่ (Large SDN) การทำ IT Automation บน เครือข่ายและระบบบน Cloud Services ต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบทั้ง Protocols และ Algorithms ที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในเครือข่ายสำหรับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจง เช่น การค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมในการอพยพผู้ประสบภัยพิบัติ เช่น Tsunami หรือ แผ่นดินไหว เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ Algorithms และ Protocols บนเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย (Wireless Sensor Networks) เพื่อยืดอายุการใช้งานให้เครือข่าย WSN ทำงานได้ยาวนานมากขึ้น

Intelligent Embedded Systems Innovation Research Laboratory
IESI Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมระบบฝังตัวอัจฉริยะ (Intelligent Embedded Systems Innovation) หรือ IESI ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัว โดยหัวข้องานวิจัยและพัฒนาครอบคลุมองค์ประกอบระบบฝังตัวทั้งในระดับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์พื้นฐานไปจนถึงระดับแอปพลิเคชัน รวมทั้งประยุกต์ศาสตร์การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาสร้างความอัจฉริยะให้กับระบบฝังตัวในอนาคต นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างงานวิจัยและพัฒนาให้กับนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ให้สามารถสร้างผลงานวิจัยที่ใช้แก้ปัญหาหรือปรับปรุงวิธีการในปัจจุบัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงงานที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ตัวอย่างหัวข้อผลงานวิจัยและพัฒนาภายใต้ห้องปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมระบบฝังตัวอัจฉริยะประกอบด้วย หุ่นยนต์กู้ภัยเทคโนโลยีฝังตัว การติดตามหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในอาคารโดยใช้เซ็นเซอร์ความเฉื่อยและเทคนิคฟิงเกอร์ปรินท์ การประยุกต์อัลกอริทึมมดสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานให้กับหุ่นยนต์ ระบบมอร์นิเตอร์เครื่องบันทึกอุณหภูมิแบบไฮบริดจ์ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ การปรับปรุงกระบวนการวิเคราะห์เชิงดำดับชั้นด้วยการโปรแกรมเชิงเส้นสำหรับการตัดสินใจแฮนด์โอเวอร์แนวตั้ง การระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วยกลไกการจำแนกประเภท การเลือกอุปกรณ์เซนเซอร์ไร้สายในอุตสาหกรรมก๊าซด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจ การให้บริการเข้าถึงเครือข่ายวายฟายโดยใช้โดรนในบริเวณลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ หุ่นยนต์จัดเก็บขยะอัจฉริยะ

Smart System Research Laboratory
SS Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยสมาร์ทซิสเต็มถูกก่อตั้งเพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิทยาการและการประยุกต์ต่าง ๆ เช่น ระบบจัดการเครือข่ายอัตโนมัติ การจัดการและควบคุมการจราจรเครือข่ายอัจฉริยะ เครือข่ายเฉพาะกิจความยืดหยุ่นสูง เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย และระบบการขนส่งอัจฉริยะ ตัวอย่างผลงานวิจัยที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบสื่อสารแบบไร้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ระบบเก็บข้อมูลการจราจรแบบไม่พึ่งพาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบประสานงานรถและหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน รถขับเคลื่อนที่ตามกันด้วยตัวเองอัตโนมัติ รวมทั้งระบบจัดการเครือข่ายและควบคุมการจราจรบนเครือข่ายที่เขียนโปรแกรมควบคุมได้

Internet of Things (IoT Innovation Laboratory)
ห้องปฏิบัติการสร้างงานนวัตกรรม ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อคิดค้นและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมบนแนวคิด Internet of Things ในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ การเกษตร การดำเนินชีวิตประจำวัน และ อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของระบบฝังตัว มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถสร้างผลงาน และงานวิจัยประยุกต์ที่นำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมีความสะดวกสบาย และตอบสนองต่อความต้องการของภาครัฐและเอกชนเพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Intelligent Systems and Networks Research Laboratory
ISN Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทาง Intelligent Systems and Networks (ISN) เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบและเครือข่ายในด้านต่าง ๆ เช่นการจัดสรรทรัพยากรในเครือข่าย Software Defined Networking (SDN) ขนาดใหญ่ (Large SDN) การทำ IT Automation บน เครือข่ายและระบบบน Cloud Services ต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบทั้ง Protocols และ Algorithms ที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในเครือข่ายสำหรับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจง เช่น การค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมในการอพยพผู้ประสบภัยพิบัติ เช่น Tsunami หรือ แผ่นดินไหว เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ Algorithms และ Protocols บนเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย (Wireless Sensor Networks) เพื่อยืดอายุการใช้งานให้เครือข่าย WSN ทำงานได้ยาวนานมากขึ้น

Intelligent Embedded Systems Innovation Research Laboratory
IESI Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมระบบฝังตัวอัจฉริยะ (Intelligent Embedded Systems Innovation) หรือ IESI ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัว โดยหัวข้องานวิจัยและพัฒนาครอบคลุมองค์ประกอบระบบฝังตัวทั้งในระดับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์พื้นฐานไปจนถึงระดับแอปพลิเคชัน รวมทั้งประยุกต์ศาสตร์การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาสร้างความอัจฉริยะให้กับระบบฝังตัวในอนาคต นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างงานวิจัยและพัฒนาให้กับนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ให้สามารถสร้างผลงานวิจัยที่ใช้แก้ปัญหาหรือปรับปรุงวิธีการในปัจจุบัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงงานที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ตัวอย่างหัวข้อผลงานวิจัยและพัฒนาภายใต้ห้องปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมระบบฝังตัวอัจฉริยะประกอบด้วย หุ่นยนต์กู้ภัยเทคโนโลยีฝังตัว การติดตามหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในอาคารโดยใช้เซ็นเซอร์ความเฉื่อยและเทคนิคฟิงเกอร์ปรินท์ การประยุกต์อัลกอริทึมมดสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานให้กับหุ่นยนต์ ระบบมอร์นิเตอร์เครื่องบันทึกอุณหภูมิแบบไฮบริดจ์ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ การปรับปรุงกระบวนการวิเคราะห์เชิงดำดับชั้นด้วยการโปรแกรมเชิงเส้นสำหรับการตัดสินใจแฮนด์โอเวอร์แนวตั้ง การระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วยกลไกการจำแนกประเภท การเลือกอุปกรณ์เซนเซอร์ไร้สายในอุตสาหกรรมก๊าซด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจ การให้บริการเข้าถึงเครือข่ายวายฟายโดยใช้โดรนในบริเวณลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ หุ่นยนต์จัดเก็บขยะอัจฉริยะ

Smart System Research Laboratory
SS Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยสมาร์ทซิสเต็มถูกก่อตั้งเพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิทยาการและการประยุกต์ต่าง ๆ เช่น ระบบจัดการเครือข่ายอัตโนมัติ การจัดการและควบคุมการจราจรเครือข่ายอัจฉริยะ เครือข่ายเฉพาะกิจความยืดหยุ่นสูง เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย และระบบการขนส่งอัจฉริยะ ตัวอย่างผลงานวิจัยที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบสื่อสารแบบไร้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ระบบเก็บข้อมูลการจราจรแบบไม่พึ่งพาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบประสานงานรถและหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน รถขับเคลื่อนที่ตามกันด้วยตัวเองอัตโนมัติ รวมทั้งระบบจัดการเครือข่ายและควบคุมการจราจรบนเครือข่ายที่เขียนโปรแกรมควบคุมได้

Internet of Things (IoT Innovation Laboratory)
ห้องปฏิบัติการสร้างงานนวัตกรรม ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อคิดค้นและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมบนแนวคิด Internet of Things ในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ การเกษตร การดำเนินชีวิตประจำวัน และ อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของระบบฝังตัว มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถสร้างผลงาน และงานวิจัยประยุกต์ที่นำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมีความสะดวกสบาย และตอบสนองต่อความต้องการของภาครัฐและเอกชนเพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทความวิจัย กลุ่ม NI
ผลงานบทความวิจัยของบุคลากรคณะ ทั้งประเภทการประชุมทางวิชาการ และประเภทวารสาร