ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้าง (Generative AI) ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนางานวิจัยในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะการนำแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) มาใช้ร่วมกับการวิจัยทางวิชาการและการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ Generative AI สามารถนำมาช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและความแม่นยำในกระบวนการวิจัยได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ Generative AI สามารถสนับสนุนการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการโดยการประมวลผลข้อมูล การเรียนรู้จากข้อมูล และสรุปข้อมูลจากบทความวิจัยได้จำนวนมาก สามารถช่วยสร้างคำถามวิจัยและสมมติฐานใหม่ ๆ โดยการช่วยระบุข้อจำกัดของวรรณกรรมที่มีอยู่ และปรับปรุงหรือแนะนำการเขียนบทความวิจัย นอกจากนี้ หนึ่งในหลักการสำคัญของการใช้ Generative AI คือ การวิเคราะห์และตีความข้อมูลที่ซับซ้อน ซึ่ง AI สามารถจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลได้ในเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถค้นพบแนวโน้มและข้อมูลเชิงลึกที่อาจมองข้ามได้ หากเทียบกับการใช้วิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิม และที่สำคัญการใช้ AI ยังช่วย ประหยัดเวลาและทรัพยากร โดยการลดเวลาในการดำเนินการวิจัย นักวิจัยสามารถมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์และการพัฒนางานวิจัยได้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม การนำ Generative AI มาใช้กับงานวิชาการเป็นสิ่งที่ต้องมีความระมัดระวัง โดยเฉพาะข้อพิจารณาด้านจริยธรรม ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของนักวิจัยที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ตรงไปตรงมา และถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้นการอบรมการใช้ AI สำหรับการพัฒนางานวิจัยนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาทักษะของนักวิจัยให้เป็นผู้นำทางด้านการนำ AI มาใช้จริงในงานวิจัย และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคของ AI ในโลกปัจจุบัน
1) แนะนำ AI Chatbot
2) แนวทางการเขียน Prompt
3) การใช้ AI Chatbot ช่วยทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้น (Literature Review)
4) การใช้ AI Chatbot ช่วยเขียนเนื้อหาบทความวิชาการ
ดร.ศิรสิทธิ์ โลห์ชนะจิต อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
บุคลากรและนักวิจัย ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
(คุณนุชรี) โทร. 0 2723 4927 มือถือ 08 9699 7880
ในวันและเวลาราชการ
E-mail : nutcharee@it.kmitl.ac.th
ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้าง (Generative AI) ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนางานวิจัยในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะการนำแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) มาใช้ร่วมกับการวิจัยทางวิชาการและการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ Generative AI สามารถนำมาช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและความแม่นยำในกระบวนการวิจัยได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ Generative AI สามารถสนับสนุนการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการโดยการประมวลผลข้อมูล การเรียนรู้จากข้อมูล และสรุปข้อมูลจากบทความวิจัยได้จำนวนมาก สามารถช่วยสร้างคำถามวิจัยและสมมติฐานใหม่ ๆ โดยการช่วยระบุข้อจำกัดของวรรณกรรมที่มีอยู่ และปรับปรุงหรือแนะนำการเขียนบทความวิจัย นอกจากนี้ หนึ่งในหลักการสำคัญของการใช้ Generative AI คือ การวิเคราะห์และตีความข้อมูลที่ซับซ้อน ซึ่ง AI สามารถจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลได้ในเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถค้นพบแนวโน้มและข้อมูลเชิงลึกที่อาจมองข้ามได้ หากเทียบกับการใช้วิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิม และที่สำคัญการใช้ AI ยังช่วย ประหยัดเวลาและทรัพยากร โดยการลดเวลาในการดำเนินการวิจัย นักวิจัยสามารถมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์และการพัฒนางานวิจัยได้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม การนำ Generative AI มาใช้กับงานวิชาการเป็นสิ่งที่ต้องมีความระมัดระวัง โดยเฉพาะข้อพิจารณาด้านจริยธรรม ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของนักวิจัยที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ตรงไปตรงมา และถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้นการอบรมการใช้ AI สำหรับการพัฒนางานวิจัยนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาทักษะของนักวิจัยให้เป็นผู้นำทางด้านการนำ AI มาใช้จริงในงานวิจัย และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคของ AI ในโลกปัจจุบัน
1) แนะนำ AI Chatbot
2) แนวทางการเขียน Prompt
3) การใช้ AI Chatbot ช่วยทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้น (Literature Review)
4) การใช้ AI Chatbot ช่วยเขียนเนื้อหาบทความวิชาการ
ดร.ศิรสิทธิ์ โลห์ชนะจิต อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
บุคลากรและนักวิจัย ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
(คุณนุชรี) โทร. 0 2723 4927 มือถือ 08 9699 7880
ในวันและเวลาราชการ
E-mail : nutcharee@it.kmitl.ac.th