เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการให้ความรู้ ทางวิชาการแก่บุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ และ/หรือ ผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง ให้มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาพรวมเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 10 หน่วยกิต (165 ชั่วโมง) ประกอบด้วย 5 ชุดวิชา
1. Information Technology Foundation (3 หน่วยกิต) ภาคทฤษฎี (36 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาเพื่อให้ ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐานและ แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ข้อมูลและฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเทคโนโลย ีและการประยุกต์ใช้งานกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ และความปลอดภัยของระบบ รวมถึง ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นด้านจริยธรรมและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. Information Technology Essentials (3 หน่วยกิต) ภาคทฤษฎี (45 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาเพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เชิงบูรณาการ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นในการสร้างความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ และสามารถสื่อสารกับบุคลากรในแวดวงไอที โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ โมเดลการพัฒนาซอฟท์แวร์ แนวคิดในการเขียนโปรแกรม สถาปัตยกรรมซอฟท์แวร์สมัยใหม่ การประกันคุณภาพซอฟท์แวร์และการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีมัลติมิเดีย เทคโนโลยีการสื่อสารและอุปกรณ์เคลื่อนที่ การพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเลือกใช้ระบบเครือข่าย แนวคิดระบบสารสนเทศและการจัดการ การตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ ความปลอดภัยของเครือข่ายและไซเบอร์ และการเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
3. Information Technology for Management (2 หน่วยกิต) ภาคทฤษฎี (30 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาเชิงบูรณาการในการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการองค์กร หรือธุรกิจ โดยจะศึกษาถึงบทบาทของ เทคโนโลยีสารสนเทศต่อองค์กรในการสร้างโอกาส และความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ศึกษาถึงความต้องการระบบสารสนเทศแบบต่างๆ รวมถึงระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ๆ เช่น e-Commerce, Supply Chain Management (SCM), Enterprise Resource Planning (ERP), Customer Relationship Management (CRM) และ Business Intelligence (BI) เป็นต้น ศึกษาการวางแผน วิเคราะห์ และประเมินโครงการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแนวโน้มการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
4. Information Technology Case Study and Discussion (1 หน่วยกิต) ภาคปฏิบัติ (24 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาจากกรณีศึกษา โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ รวมถึงการดูงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากองค์กรชั้นนำ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้งานจริง
5. Information Technology in Practices (1 หน่วยกิต) ภาคปฏิบัติ (30 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาเชิงบูรณาการในภาคปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยจะศึกษาถึงการดูแลบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการใช้งานโปรแกรมที่จำเป็น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะได้ศึกษาเกี่ยวกับการเชื่อมโยง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งในส่วนของการสร้างเครือข่าย และการใช้งานเครือข่าย ในส่วนของการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น จะได้ทำการศึกษาถึงวิธีการในการออกแบบโปรแกรม ไปจนถึงการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น รวมทั้งการบริหารจัดการสำหรับการพัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ยังจะได้ศึกษาเกี่ยวกับ การนำเทคโนโลยีสื่อประสมมาประยุกต์ใช้ กับเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรด้วย
คณาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
อบรม ระหว่างวันที่ 19 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2551 ในวันเสาร์และอาทิตย์ ในเวลา 9.00 – 16.00 น. รวมทั้งสิ้น 165 ชั่วโมง ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สำหรับภาคปฏิบัติ) และที่ศูนย์การศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 10 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ถนนวิภาวดีรังสิต (สำหรับภาคทฤษฎี)
ท่านละ 35,000 บาท (รวมค่าตำรา เอกสาร อาหารกลางวัน และอาหารว่าง)
การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ: ผู้สมัครที่ชำระค่าลงทะเบียนแล้วแต่ต้องการขอยกเลิกการอบรม จะต้องแจ้งขอยกเลิกภายในวันที่ 25 ธันวาคม 2550 โดยคณะฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้ 70% หากพ้นกำหนดวันดังกล่าวจะไม่สามารถขอยกเลิกการอบรมได้
คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 , 0 2723 4925 หรือ มือถือ: 08 9699 7880 แฟกซ์: 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ
E-mail: nutcharee@it.kmitl.ac.th
เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการให้ความรู้ ทางวิชาการแก่บุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ และ/หรือ ผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง ให้มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาพรวมเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 10 หน่วยกิต (165 ชั่วโมง) ประกอบด้วย 5 ชุดวิชา
1. Information Technology Foundation (3 หน่วยกิต) ภาคทฤษฎี (36 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาเพื่อให้ ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐานและ แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ข้อมูลและฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเทคโนโลย ีและการประยุกต์ใช้งานกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ และความปลอดภัยของระบบ รวมถึง ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นด้านจริยธรรมและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. Information Technology Essentials (3 หน่วยกิต) ภาคทฤษฎี (45 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาเพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เชิงบูรณาการ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นในการสร้างความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ และสามารถสื่อสารกับบุคลากรในแวดวงไอที โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ โมเดลการพัฒนาซอฟท์แวร์ แนวคิดในการเขียนโปรแกรม สถาปัตยกรรมซอฟท์แวร์สมัยใหม่ การประกันคุณภาพซอฟท์แวร์และการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีมัลติมิเดีย เทคโนโลยีการสื่อสารและอุปกรณ์เคลื่อนที่ การพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเลือกใช้ระบบเครือข่าย แนวคิดระบบสารสนเทศและการจัดการ การตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ ความปลอดภัยของเครือข่ายและไซเบอร์ และการเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
3. Information Technology for Management (2 หน่วยกิต) ภาคทฤษฎี (30 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาเชิงบูรณาการในการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการองค์กร หรือธุรกิจ โดยจะศึกษาถึงบทบาทของ เทคโนโลยีสารสนเทศต่อองค์กรในการสร้างโอกาส และความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ศึกษาถึงความต้องการระบบสารสนเทศแบบต่างๆ รวมถึงระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ๆ เช่น e-Commerce, Supply Chain Management (SCM), Enterprise Resource Planning (ERP), Customer Relationship Management (CRM) และ Business Intelligence (BI) เป็นต้น ศึกษาการวางแผน วิเคราะห์ และประเมินโครงการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแนวโน้มการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
4. Information Technology Case Study and Discussion (1 หน่วยกิต) ภาคปฏิบัติ (24 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาจากกรณีศึกษา โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ รวมถึงการดูงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากองค์กรชั้นนำ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้งานจริง
5. Information Technology in Practices (1 หน่วยกิต) ภาคปฏิบัติ (30 ชั่วโมง)
เป็นการศึกษาเชิงบูรณาการในภาคปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยจะศึกษาถึงการดูแลบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการใช้งานโปรแกรมที่จำเป็น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะได้ศึกษาเกี่ยวกับการเชื่อมโยง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งในส่วนของการสร้างเครือข่าย และการใช้งานเครือข่าย ในส่วนของการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น จะได้ทำการศึกษาถึงวิธีการในการออกแบบโปรแกรม ไปจนถึงการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น รวมทั้งการบริหารจัดการสำหรับการพัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ยังจะได้ศึกษาเกี่ยวกับ การนำเทคโนโลยีสื่อประสมมาประยุกต์ใช้ กับเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรด้วย
คณาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
อบรม ระหว่างวันที่ 19 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2551 ในวันเสาร์และอาทิตย์ ในเวลา 9.00 – 16.00 น. รวมทั้งสิ้น 165 ชั่วโมง ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สำหรับภาคปฏิบัติ) และที่ศูนย์การศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 10 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ถนนวิภาวดีรังสิต (สำหรับภาคทฤษฎี)
ท่านละ 35,000 บาท (รวมค่าตำรา เอกสาร อาหารกลางวัน และอาหารว่าง)
การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ: ผู้สมัครที่ชำระค่าลงทะเบียนแล้วแต่ต้องการขอยกเลิกการอบรม จะต้องแจ้งขอยกเลิกภายในวันที่ 25 ธันวาคม 2550 โดยคณะฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้ 70% หากพ้นกำหนดวันดังกล่าวจะไม่สามารถขอยกเลิกการอบรมได้
คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 , 0 2723 4925 หรือ มือถือ: 08 9699 7880 แฟกซ์: 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ
E-mail: nutcharee@it.kmitl.ac.th