ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านการศึกษา ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า มาช่วยพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านการเรียนรู้ของคนในชาติ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เพื่อก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 กอปรกับแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้มีการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โดยได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โดยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้เพิ่มสาระด้านเทคโนโลยี (สาระที่ 4) มาตรฐาน ว 4.2 วิทยาการคำนวณ ที่มุ่งเน้นความเข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรมเข้าไปในหลักสูตรด้วย ทำให้ต้องอาศัยบุคลากรด้านการศึกษา ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นหน่วยงานแรกที่กำหนดให้มีการทดสอบทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของคณะ และเคยจัดอบรมทักษะการคิดเชิงคำนวณให้กับบุคลากรทางการศึกษามาก่อน ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสาคัญในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบิติการการคิดเชิงคำนวณให้กับคุณครูในระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศขึ้นเป็นรุ่นที่ 2 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และฝึกทักษะการใช้เครื่องมือด้านการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสื่อการสอน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางฯ ของกระทรวงศึกษาธิการให้บรรลุผลผลตามวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวมในอนาคต Azərbaycan onlayn kazino saytları
เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฏีและปฏิบัติ รวม 30 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1) การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
– แนะนำการคิดเชิงคำนวณ
– พื้นฐานการแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี (Algorithm)
– การวาดผังงาน (Flow chart)
– การใช้งานโปรแกรม Scratch
– การแก้โจทย์ปัญหาการคิดเชิงคำนวณด้วยโปรแกรม Scratch
2) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไพทอน (Python)
– แนะนาภาษาไพทอน (Python)
– ชนิดข้อมูลพื้นฐาน ตัวแปร และเอ็กซ์เพรสชั่น (Data Types, Variables and Expressions)
– การทำงานแบบมีทางเลือก (Selection)
– การทำงานแบบวนซ้า (Repetition)
– การประมวลผลสตริงและลิสต์ (String and List Processing)
– การค้นหาและการจัดเรียง (Searching and Sorting)
3) การพัฒนาโครงงาน
– การกำหนดปัญหา และขอบเขตของปัญหา
– การวางแผนและออกแบบโครงงาน
– การดำเนินงาน
– การสรุปผลและนำเสนอผลงาน
4) เวิร์คชอร์ป (Workshop)
– การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการพัฒนาโครงงาน
จัดอบรมระหว่างวันที่ 4 – 8 มีนาคม 2562 โดยมีระยะเวลาในการอบรมรวมทั้งสิ้น 5 วันๆ ละ 6 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง ในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 28 กุมภาพันธ์ 2562 (จำนวน 30 คน)
หมายเหตุ :
– ผู้ที่ชำระค่าลงทะเบียนการอบรมแล้ว แต่ต้องการยกเลิกการอบรมจะต้องแจ้งยกเลิกภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยคณะฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้ 70% หากพ้นกำหนดวันดังกล่าวจะไม่สามารถขอยกเลิกการอบรมได้
– ผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นข้าราชการและได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา สามารถเบิกจ่ายค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดตามระเบียบกระทรวงการคลังได้ และเข้าอบรมโดยไม่ถือเป็นวันลา
*** การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ***
คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 หรือ มือถือ: 08 9699 7880
แฟกซ์: 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ
E-mail: nutcharee@localhost